วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วิธีซื้อสลากออมสินและสลาก ธ.ก.ส. ถูกทุกงวด

ช่วงเดือนที่ผ่านมาได้ดูรายการ "ปลุกพลังบวกในตัวคุณ"  รู้สึกชอบแนวความคิดของนักพูดแต่ละคน และทำให้เรามีพลังให้ทำบางอย่างต่อไป ก็อยากจะนำมาแชร์เพื่อว่าผู้อ่านที่กำลังค้นหาแรงบันดาลใจและที่กำลังท้อแท้กับสิ่งที่กำลังทำอยู่มีกำลังใจขึ้นมา "แรงบันดาลใจอยู่รอบตัวเรานะคะ"


===============================================================

หลังจากที่เขียนบล็อกมาได้ช่วงเวลาหนึ่งก็ได้มี บก.ติดต่อให้เขียนพ็อกเก็ตบุ๊คค่ะ อยากจะใช้พื้นที่ตรงนี้แบ่งปันแรงบันดาลใจที่อยากให้คนทำงานเห็นประโยชน์ของการออมเงิน เนื้อหาในเล่มจะเป็นการบริหารการเงินส่วนบุคคลในมุมมองของสลากกินแบ่งรัฐบาลซึ่งมาจากในบล็อกและเขียนเพิ่มเติมบางส่วน ซึ่งในหัวข้อของ "วิธีซื้อสลากออมสินและสลาก ธ.ก.ส. ถูกทุกงวด" ก็เป็นส่วนหนึ่งของพ็อกเก็ตบุ๊คเล่มนี้ด้วยค่ะ นักเขียนมือใหม่ขอฝากเนื้อฝากตัวด้วยนะค่ะ ^_^

คำสารภาพจากนักเขียน

จากวันแรกที่ได้รับการติดต่อให้เขียนเล่มนี้ก็ไม่คิดว่าตัวเองจะเขียนได้ จนถึงวันนี้ที่ได้เห็นพ็อกเก็ตบุ๊คเล่มนี้เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาก็ใช้เวลา 1 ปีำเต็มสำหรับการรอคอย ขอบคุณทีมงานทุกคนที่ทำให้พ็อกเก็ตบุ๊คเล่มนี้สำเร็จนะคะ ทุกคนทำดีที่สุดแล้ว

ขอบคุณบก.ต่อทองที่ให้โอกาสนักเขียนหน้าใหม่ด้วยค่ะ  = ^_^=


หนังสือเริ่มวางจำหน่ายแล้วนะคะ จากความรู้สึกกลัวที่เขียนไม่ได้กลายเป็นความกลัวว่าคนอ่านจะชอบที่เราเขียนรึเปล่า กลัวจริงๆนะคะ แต่มาถึงขนาดนี้แล้วก็มาลุ้นกันว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร อีเมล์อยู่ข้างบนส่งคอมเม้นมาได้เลยค่ะ


===============================================================

อัพเดทสลากของปี 2558 ได้ในบทความข้างล่างนี้นะจ๊ะ




คลิกอ่านบทความได้ที่ http://www.aommoney.com/?p=11830


บางคนที่รักการเสี่ยงโชคทางด้านตัวเลขเป็นชีวิตจิตใจแต่ก็กังวลไม่อยากให้เงินที่ลงทุนเสียไปก็มีทางเลือกในการเสี่ยงโชคอีกแบบหนึ่งแทนการซื้อล็อตเตอร์รี่ก็จะเป็นสลากออมสินและสลาก ธ.ก.ส. ค่ะ ซึ่งสลากแต่ละชนิดก็มีเงื่อนไขในการซื้อขายแตกต่างกันไป สามารถหาข้อมูลเพิ่มเิติมได้ที่หน้าเว็ป

สลากออมสิน ==>     http://www.gsb.or.th/lottery/
ธ.ก.ส.            ==>   http://www.baac.or.th

ในบล็อกนี้ต้องการจะเปรียบเทียบผลตอบแทนของแต่ละที่ให้ดูเป็นตัวอย่างการตัดสินใจว่าถ้ามีเงินก้อนแล้วต้องการเสี่ยงโชคแบบเงินต้นไม่หายน่าจะลงทุนในอะไร ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและข้อจำกัดของแต่ละคน


หมายเหตุ ถ้าดูัอัตราผลตอบแทนให้ดูที่บรรทัดสุดท้ายที่เป็น % นะคะ จะดูที่ตัวเลขรวมเงินรางวัลนั้นไม่ได้ เพราะสลากออมสินกับ ธกส. นั้นให้รางวัลขั้นต่ำไม่เท่ากัน และตารางนี้ใช้การคำนวนของสลากออมสินชุดที่ 55 และ ธกส. ชุดกล้วยไม้พระนามซึ่งจำหน่ายหมดแล้ว สลากชุดใหม่จะปรับอัตราดอกเบี้ยใหม่นะคะ รบกวนดูวิธีคำนวนด้านล่างประกอบด้วยค่ะ

ตารางนี้เป็นการเปรียบเทียบสลากที่มีอายุ 3 ปี ซึ่งต้องถือสลากจนครบกำหนดถึงจะได้ผลตอบแทนขั้นต่ำ(ถูกสลากทุกงวด)ตามนี้ค่ะ การที่เราจะได้ผลตอบแทนขั้นต่ำก็ต้องมาดูที่รางวัลเลขท้ายว่าสลากแต่ละชนิดออกเลขท้ายกี่ตัว เราก็ต้องซื้อให้ครอบคลุมเลขท้ายเหมือนซื้อเหมา ออกเลขอะไรมาเราก็มีหมดเลยเพียงเท่านี้ก็ถูกรางวัลทุกงวดแล้วค่ะ 

** บางคนอาจจะเห็นตัวเลขก็ตกใจว่าเป็นจำนวนเงินที่ค่อนข้างมาก เพราะเราจ่ายครั้งเดียวก็ต้องตกใจเป็นธรรมดา แต่การเล่นหวยนั้นเราค่อยๆจ่ายทีละงวดก็เลยไม่รู้สึกอะไรสักเท่าไหร่ แต่ถ้าลองคิดเล่นๆว่าตั้งแต่เล่นหวยได้เงินมาและเสียเงินไปเท่าไหร่ และถ้านำเงินจำนวนนั้นทั้งหมดมาซื้อสลากแบบนี้หละจะเป็นอย่างไร ลองปรับวิธีคิดแล้วจะรู้ว่าเงินออมของเราหายไปไหน

นโยบายดอกเบี้ยของสลากแต่ละชุดจะแตกต่างกัน ดังนี้

==> สลากออมสินพิเศษชุด 55 มีดอกเบี้ย ณ วันครบกำหนด 3.25 บาทต่อหน่วย (จำหน่ายหมดแล้ว) และชุดปัจจุบันจะเป็นสลากออมสินพิเศษชุด 56 มีดอกเบี้ย ณ วันครบกำหนด 2.75 บาทต่อหน่วย

==> บัตรเพิ่มทรัพย์ มีดอกเบี้ย ณ วันครบกำหนด 5 บาทต่อหน่วย (ปัจจุบันเป็นชุดที่ 6 และ 7 จำหน่ายหมดแล้ว) ต้องรอให้ชุดเก่าใกล้หมดอายุจึงจะจำหน่ายชุดต่อไป

==> สลากออมทรัพย์ทวีสินชุดกล้วยไม้พระนาม มีดอกเบี้ย ณ วันครบกำหนด 22.50 บาทต่อหน่วย (จำหน่ายหมดแล้ว) และชุดที่จะออกต่อไปจะเป็นสลากออมทรัพย์ทวีสิน ชุดข้าวทิพย์ มีดอกเบี้ย ณ วันครบกำหนด 15 บาทต่อหน่วย (จากการสอบถามจากเจ้าหน้าที่บอกว่าจะเริ่มจัดจำหน่ายประมาณ 20 มี.ค. - 31 พ.ค.56 อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ ต้องสอบถามเป็นระยะๆ )

หมายเหตุ ถ้าขายคืนก่อนครบกำหนดก็จะไม่ได้รับผลตอบแทนขั้นต่ำตามตาราง สำหรับเงื่อนไขดอกเบี้ยในสลากชุดปัจจุบันหรือการขายคืนสลากก่อนครบกำหนดสามารถดูข้อมูลได้จากทางหน้าเว็ปของผู้จัดจำหน่ายสลากข้างต้นค่ะ

ซื้ออย่างไรถูกทุกงวด

==> สลากออมสิน มีรางวัลเลขท้าย 4 ตัวรางวัลละ 150 บาท ออก 2 ครั้ง ดังนั้นเราก็ต้องมีเลขให้ครอบคุมเลขท้ายทั้งหมด 4 ตัว ตั้งแต่ 1-10,000 ดังนั้น ต้องซื้อขั้นต่ำ 10,000 หน่วย ราคาหน่วยละ 50 บาท จะเป็นเงินทั้งหมด 500,000 บาท ถ้าถือครบ 3 ปี มีโอกาสถูกรางวัล 36 งวดและในบางงวดอาจจะถูกรางวัลเลขท้าย 5 ตัว

จำนวนเงินที่ได้รับขั้นต่ำของสลากออมสินมีวิธีคิด ดังนี้
1. เงินรางวัลขั้นต่ำ = 150 x 2 x 36 = 10,800 บาท
2. ดอกเบี้ย ณ วันครบกำหนด = 2.75 x 10,000 = 27,500 บาท
นำข้อ 1. กับข้อ 2. มารวมกันจะป็นเงินทั้งสิ้น 38,300 บาท หรือเฉลี่ย 2.55% ต่อปี (ยังไม่รวมการถูกรางวัลอื่นๆ)

* 2.75 เป็นอัตราดอกเบี้ย ณ วันครบกำหนดชุด 55 ถ้าจะคำนวณชุดอื่นๆให้นำอัตราดอกเบี้ยมาใส่ตรงนี้

ตัวอย่าง ผลการออกรางวัลสลากออมสินพิเศษชุดที่ 49 หมวด P ตั้งแต่ 0000001 - 0009999 ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่ ม.ค. 55- ธ.ค. 55 ระยะเวลา 1  ปีว่าถูกทุกงวดจริงๆคะ



==> ธ.ก.ส. มีสลาก 2 ชนิด คือ บัตรเพิ่มทรัพย์กับสลากออมทรัพย์ทวีสิน 

1. บัตรเพิ่มทรัพย์ มีรางวัลเลขท้าย 3 ตัวรางวัลละ 50 บาท ออก 2 ครั้ง ดังนั้นเราก็ต้องมีเลขให้ครอบคุมเลขท้ายทั้งหมด 3 ตัว ตั้งแต่ 1-1,000 ดังนั้น ต้องซื้อขั้นต่ำ 1,000 หน่วย ราคาหน่วยละ 100 บาท จะเป็นเงินทั้งหมด 100,000 บาท ถ้าถือครบ 3 ปี มีโอกาสถูกรางวัล 36 งวด

จำนวนเงินที่ได้รับขั้นต่ำของบัตรเพิ่มทรัพย์มีวิธีคิด ดังนี้
1. เงินรางวัลขั้นต่ำ = 50 x 2 x 36 = 3,600 บาท
2. ดอกเบี้ย ณ วันครบกำหนด = 5 x 1,000 = 5,000 บาท
นำข้อ 1. กับข้อ 2. มารวมกันจะป็นเงินทั้งสิ้น 8,600 บาท หรือเฉลี่ย 2.87% ต่อปี (ยังไม่รวมการถูกรางวัลอื่นๆ)

5 เป็นอัตราดอกเบี้ย ณ วันครบกำหนดชุดที่ 6 ถ้าจะคำนวณชุดอื่นๆให้นำอัตราดอกเบี้ยมาใส่ตรงนี้ค่ะ

2. สลากออมทรัพย์ทวีสิน (ชุดกล้วยไม้พระนาม) มีรางวัลเลขท้าย 3 ตัวรางวัลละ 200 บาท ออก 2 ครั้ง ดังนั้นเราก็ต้องมีเลขให้ครอบคุมเลขท้ายทั้งหมด 3 ตัว ตั้งแต่ 1-1,000 ดังนั้น ต้องซื้อขั้นต่ำ 1,000 หน่วย ราคาหน่วยละ 500 บาท จะเป็นเงินทั้งหมด 500,000 บาท ถ้าถือครบ 3 ปี มีโอกาสถูกรางวัล 36 งวด

จำนวนเงินที่ได้รับขั้นต่ำสลากออมทรัพย์ทวีสิน (ชุดกล้วยไม้พระนาม) มีวิธีคิด ดังนี้
1. เงินรางวัลขั้นต่ำ = 200 x 2 x 36 = 14,400 บาท
2. ดอกเบี้ย ณ วันครบกำหนด = 22.50 x 1,000 = 22,500 บาท
นำข้อ 1. กับข้อ 2. มารวมกันจะป็นเงินทั้งสิ้น 36,900 บาท หรือเฉลี่ย 2.46% ต่อปี (ยังไม่รวมการถูกรางวัลอื่นๆ)

* 22.50 เป็นอัตราดอกเบี้ย ณ วันครบกำหนดชุดกล้วยไม้พระนาม ถ้าจะคำนวณชุดอื่นๆให้นำอัตราดอกเบี้ยมาใส่ตรงนี้ค่ะ

ตัวอย่าง ผลการออกรางวัลสลากออมทรัพย์ทวีสิน ชุดอักษร MG ระหว่างเลข 0000001 - 0000999 ออกรางวัลครั้งแรกเดือน ส.ค. 55 จนถึงงวดปัจจุบัน ธ.ค. 55 ก็ถูกขั้นต่ำทุกงวด


หมายเหตุ ผู้เขียนไม่ได้มีส่วนได้เสียกับทางผู้ออกสลาก เพียงแค่ต้องการทำข้อมูลเพื่อไว้ใช้ส่วนตัวเท่านั้น และอยากจะแชร์ข้อมูลประกอบการตัดสินใจให้แก่ผู้รักการเสี่ยงโชคในแบบที่ต้องการรักษาเงินต้นค่ะ


บทความน่าสนใจ


เปลือกนอกที่หลอกตา
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/12/blog-post.html

วิธีค้นหาตัวตนจากการเขียนคำไว้อาลัย
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/11/blog-post_22.html

งดเหล้า เลิกบุหรี่ สุขภาพดีและมีเงินออม 
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/11/blog-post.html

สร้างแรงบันดาลใจเป็นตัวเลข
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/10/blog-post_28.html

ภาพรวมของการวางแผนการเงินส่วนบุคคลมี 5 แผน
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/10/5.html

บทเรียนจากแบบฝึกหัดเขียน
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/10/blog-post_6.html

ความสามารถของเรามีมูลค่าเท่าไหร่??
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/10/blog-post.html

อ่านหนังสือสร้างโลก
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/08/blog-post_20.html

บัตรเครดิตที่เราต้องรู้
 ==> http://pajareep.blogspot.com/2013/07/blog-post.html

ต้นทุนชีวิต - มีมูลค่าเท่าไหร่
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/05/blog-post.html





วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บัตรเครดิต & ตลาดหุ้น...หลักการกับปฏิบัติมันไม่เหมือนกัน

เคยคิดไหมว่าสิ่งที่เราเรียนมาตั้งแต่อนุบาล จนกระทั่งปริญญานั้นมีอะไรบ้างที่เรายังจำและยังใช้ได้ในปัจจุบัน??

เราได้ความรู้ แต่จะรู้แบบไหนกันบ้างหละ

บางคนนำความรู้มาใช้ในทางด้านที่ดีก็เป็นประโยชน์แก่ตนเองและประเทศชาติ แต่บางคนก็นำความรู้แบบเดียวกันนั้นมาทำสิ่งที่เลวร้าย ตนเองก็รุ่งเรืองแต่ประเทศนั้นรุ่งริ่ง ความรู้ก็เหมือนดาบสองคมซึ่งมีทั้งด้านมืดและด้านสว่าง ขึ้นอยู่กับคนที่นำมาใช้นั้นตีความว่าอย่างไร จากหลักการที่วางแผนมาดีแต่พอนำมาปฏิบัติแล้วก็ไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้เพราะหลักการไม่ได้รวมปัจจัยผันแปรตัวสำคัญเข้าไปด้วย ซึ่งก็คือ อารมณ์ของมนุษย์

กำลังจะบอกว่า "ทฤษฎีกับปฏิบัติมันไม่เหมือนกัน"

ฟังหลักการใช้บัตรเครดิตก็ดีนะ สมมติเราซื้อสินค้าโดยใช้บัตรเครดิตวันนี้ก็ยังไม่ต้องจ่าย จะนำเงินมาชำระหลังจากนี้อีก 45 วัน(หรือแล้วแต่นโยบายของบัตรแต่่ละใบ) ระหว่าง 45 วันนั้นก็นำเงินไปสร้างดอกผลอย่างอื่น เช่น ฝากธนาคาร ไปลงทุน ให้เพื่อนยืมเงินฯลฯ พอถึงกำหนดเวลาก็นำมาจ่าย ได้ประโยชน์เพราะเราสามารถสร้างดอกผลจากเงินได้ถึง 45 วัน ฟังแล้วดูดีไปหมดเลยจริงๆ ขอถามหน่อยว่ามีใครทำตามหลักการที่คนขายบัตรเครดิตบอกบ้าง รบกวนเมล์มาบอกด้วยว่าคุณมีวิธีการลงทุนอย่างไรเืพื่อให้ผลตอบแทนภายใน 45 วัน ถ้าบอกว่าเอาไปลงทุนในหุ้นก็ได้ แต่คงยิ้มได้ตอนหุ้นขึ้นนะคะ ถ้าหุ้นลงหละก็เงินที่จะเอามาจ่ายก็หายไปไม่พอจ่ายเหมือกัน หลักการไม่ได้รวมอารมณ์ความฟุ้งเฟ้อของคนเข้าไปด้วย การจ่ายโดยใช้บัตรเครดิตเราไม่รู้ว่าจ่ายไปแล้วเท่าไหร่บ้างเพราะเงินสดไม่ได้ผ่านมือ กว่าจะมารู้ตัวอีกทีก็สิ้นเดือนตอนที่ใบเรียกเก็บหนี้มานั่นแหละ การใช้จ่ายโดยใช้เงินสดหรือบัตรเดบิตยังดีกว่าการใช้บัตรเีึครดิต เพราะมันจำกัดอยู่ในวงเงินที่เรามีอยู่ เราก็รู้หน้าตักตัวเองว่ามีเท่าไหร่

จากโปรโมชั่นบัตรเครดิตที่โหมโฆษณาจนแทบจำไม่ได้ละว่าโปรนี้ของบริษัทไหน โฆษณามากกว่าการรณรงค์ให้คนมาออมเงินซะอีก ไหนว่าอยากให้คนออมเงินมากขึ้นไงจ๊ะ ยิ่งรูดยิ่งได้แต้ม ยิ่งได้ของรางวัล เราเห็นแก่ส่วนลดหรือของขวัญก็ไม่ผิด แต่มันจะเริ่มหงุดหงิดกับยอดหนี้ที่เพิ่มขึ้น เราน่าจะเริ่มรู้สึกผิดได้แล้วว่าเราใช้จ่ายเกินความจำเป็นรึเปล่า มีเจ้าหน้าที่ธนาคารหนึ่งเคยบอกว่ารูดบัตรเครดิตเพื่อซื้อกองทุนเราจะได้แต้มสะสมเยอะๆ ฟังแล้วปวดใจจริงๆ หลักการ 45 วันเหมือนกข้างบนเป๊ะ ก็อยากจะถามเค้าเหมือนกันว่าตัวเองทำได้อย่างที่พูดรึเปล่า ถ้าเรารูดบัตรเครดิตซื้อกองทุนแล้วพอถึงกำหนดชำระแล้วมีเงินจ่ายก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าซื้อกองทุนไปแล้ว ได้แต้มมาแบบถล่มทะลาย แต่ไม่มีเงินจ่ายตอนเรียกเก็บหนี้ ทำให้เสียดอกเบี้ยเนี้ย "มันคุ้มไหมจ๊ะ" ก็คงตลกดีเนอะถ้านำเงินที่ประหยัดภาษีได้มาจ่ายดอกเบี้ยบัตรเครดิตที่รูดมาจ่ายซื้อกองทุน

ฟังหลักการของการลงทุนในหุ้นก็ดี เพราะซื้อแล้วให้คิดว่าเราเป็นเจ้าของกิจการ ซื้อแล้วถือยาวเพื่อรอรับปันผล อย่างน้อยกว่ามากกว่าฝากประจำ เป็นการลงทุนทางเลือกที่ทำให้เงินงอกเงย เราดูปัจจัยพื้นฐาน งบการเงินโน้นนี่นั่นเต็มไปหมด ดูเทคนิคแนวรับแนวต้าน เพื่อเข้าใจจังหวะในการซื้อขาย นักลงทุนบางคนคิดว่าหุ้นตัวนี้พื้นฐานดีมากแต่ทำไมราคาถึงไม่ไปไหน ก็เลยขายทิ้งปันใจไปให้ัตัวอื่น แล้วหุ้นตัวนั้นก็วิ่งขึ้นทันตาเห็น ถ้าเป็นนักลงทุนในหุ้นอยู่แล้วก็จะรู้ว่าเป็นอย่างไรและวิธีการลงทุนในปัจจุบันมีอะไรบ้าง ไม่งั้นคำว่า "แมงเม่า" คงไม่เกิด ก็มองในมุมบวกว่าถ้าไม่มีการเก็งกำไรแล้วสภาพคล่องคงไม่เกิด ถึงแม้ว่าหลักการในการลงทุนจะดีแค่ไหนก็แพ้อารมณ์คนในตลาด อารมณ์ความโลภในการลงทุนนั้นก็เป็นปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ และไม่สามารถตีมูลค่าได้(ถ้าความโลภสามารถตีมูลค่าได้เราคงเป็นเศรษฐีไปแล้วหละ) อารมณ์นี่แหละเป็นตัวขับเคลื่อนตลาดมากกว่าพื้นฐานบริษัท

จากการบอกเล่าของคนรู้จักที่ไปเรียนเทคนิคเกี่ยวกับการเล่นหุ้น คอร์ททีละเป็นหมื่่นๆ ได้ยินแล้วเสียดายเงินแทน ก็บอกเค้าไปว่าทุกอย่างสามารถอ่านหนังสือเองได้  อ่านรอบแรกอาจจะยังไม่เข้าใจก็อ่านหลายๆครั้ง ไม่มีใครเก่งตั้งแต่ศึกษาครั้งแรกหรอกค่ะ เราก็ต้องเข้าฟังสัมมนามากๆซึ่งมีการจัดฟรีที่ตลาดหลักทรัพย์บ่อยๆ บางที่มีบริการส่งหุ้นเด็ดทาง SMS เสียเงินเดือนละหลายพัน(นี่หรอการลงทุนไม่ต่างกับการพนันหวยที่บอกเลขเด็ดรายงวด) ก็ยินดีด้วยสำหรับคนที่ประสบความสำเร็จในวิธีการที่ทำให้ตนเองภาคภูมิใจในความร่ำรวยที่ได้จากความสูญเสียของคนอื่น โปรดอย่าโทษกรรมหรือคนที่ทำให้เราเสียเงิน เมื่อเราละความโลภให้ลดลงหรือทิ้งมันไปได้ก็จะทำให้จิตใจแจ่มใส และตาจะสว่างมากค่ะ



บทความน่าสนใจ


ทิศทางการตลาดเพื่อดูแนวโน้มหุ้นแห่งอนาคต


การเงินส่วนบุคคล ตอน การวิเคราะห์หนี้สิน
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/01/blog-post_28.html







วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ขึ้นคานอย่างมีศักดิ์ศรี ต้องมีแผนทางการเงิน

จากการพยากรณ์ของนักวิชาการหลายๆสำนักที่บอกว่าธรรมชาติจะเลวร้ายลงเรื่อยๆ ประชากรที่เกิดใหม่ในอนาคตก็จะผจญกับภาวะการขาดแคลนอาหารอันเนื่องมาจากความเลวร้ายของภัยธรรมชาติ กลุ่มคนโสดที่รักคานทองยิ่งชีพยอมไม่ได้ที่จะให้เกิดเหตุการณ์นั้น เราก็เลยร่วมด้วยช่วยกันดูแลธรรมชาติและช่วยกันคุมกำเนิดไม่ให้มีเด็กเกิดขึ้นมาเยอะเกินไป!!

ก็ว่าไปนั่น.....ก็แค่ขำๆ ให้กำลังใจคนโสดหนะค่ะ ^_^!!

คนโสดก็ไม่มีอะไรมากก็แค่ดูแลตัวเอง ดูแลพ่อแม่ หาความสุขให้กับตัวเอง ท่องเที่ยวไปในที่ที่อยากจะไป จะสังเกตได้ว่าเงินส่วนใหญ่จะหมดไปกับการท่องเที่ยวหาความสุขใส่ตัว ในกลุ่มที่ดูแลตัวเองและวางแผนทางการเงินดีก็จะไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าบางคนใช้จ่ายจนเกินตัวเองไปนิด ทำงานเดือนนี้เพื่อใช้หนี้บัตรเครดิตที่ใช้เกินไปหลายเดือนแบบนี้ก็ไม่ค่อยสนุกกับการใช้ชีวิตสักเท่าไหร่

เราต้องมาจุดประกายให้คนโสดเริ่มคิดที่จะวางแผนการเงินกันมากขึ้นแล้วหละ !!

เริ่มจากมาดูอนาคตว่าเราต้องเจอกับอะไรบ้าง เพื่อเป็นแรงกระตุ้นใ้ห้เกิดความอยากที่จะเก็บเงิน ส่วนวิธีการเก็บเงินนั้นก็จะตามมาเอง แนวโน้มของประชากรจะมีคนโสดมากขึ้น ก็เป็นที่รู้กับอยู่แล้ว แต่ว่าคนโสดมาเกี่ยวอะไรกับการวางแผนทางการเงินหละ?? คนแต่งงานก็มีภาระแบบคนมีคู่ ส่วนคนโสดก็มีภาระของคนที่ต้องอยู่คนเดียว เราเคยลองคิดไหมว่า.....

"ถ้าคนโสดอย่างเราแก่ตัวไป 
ทำงานไม่ไหว 
ตอนนั้นใครจะมาดูแล"

อย่าหวังให้ใครมาเลี้ยงเพราะเราไ่ม่ได้ให้กำเนิดใครเพื่อมาเลี้ยงดูเรายามชรา ภาระของคนโสดก็อยู่ตรงนี้แหละ แม้ว่าการยืนด้วยลำแข้งของตัวเองมันจะเหนื่อย แต่ก็ต้องเริ่มคิดตั้งแต่ตอนที่มีกำลังทำงานแล้วหละ ว่า ณ อายุ 70 ปีเราจะอยู่ยังไง คงไม่ต้องรอให้ถึงก่อนแล้วค่อยคิดนะจ๊ะ เพราะมันจะช้าไป และถ้าพัฒนาการทางการแพทย์ทำให้เราอายุยืนกว่านั้นหละ โครงการบ้านพักคนชราคนเกิดขึ้นเป็นดอกเห็ดเลยหละ เป้าหมายกลุ่มคนหลังเกษียณก็เป็นอีกธุรกิจนึงที่น่าจะเติบโตมากๆในอนาคต

เฮ้ออออ.....แค่คิดภาพว่าตัวเองต้องแบกสังขารไปหุงข้าวกินเองก็เหนื่อยละ

เมื่อเราตัดสินใจแล้วว่าจะอยู่คนเดียวแล้วหละก็ต้องมีการวางแผนการใช้เงินให้ดีเลยหละ ณ จุดนั้นคงต้องจ้างพยาบาลมาดูแล เพราะเราคงดูแลตัวเองไม่ได้ ถ้าจะให้มีคนมาดูแลเราฟรีๆก็คงเป็นจิตอาสาเกินไป ผลตอบแทนให้คนดูแลก็ต้องมีบ้าง เราก็เลยต้องวางแผนการใช้เงินไงจ๊ะ  พอแก่ชราตำหมากไม่ไหวแล้วจะได้ไม่ลำบาก ก็เลยคิดว่าน่าจะต้องรู้ว่าช่วงอายุที่เราทำงานไม่ได้นั้นต้องมีรายจ่ายเท่าไหร่ หรือความจำเป็นในการใ้ช้เงินว่าเราจะต้องใช้เงินจนกระทั่งวาระของสุดท้ายเท่าไหร่ แล้วมาดูว่าปัจจุบันเราเก็บเงินได้เท่ากับจำนวนที่ใ้ช้หลังเกษียณอายุแล้วรึยัง ภาพนี้เขียนไปในบล็อกเดือนกันยายนมีวิธีคำนวณเป็นตัวอย่างที่ http://pajareep.blogspot.com/2012/09/blog-post_30.html แต่ถ้าใครไม่ชอบตัวเลขก็จำเป็น concept ว่า "เก็บเงินให้พอใช้ในวัยหลังเกษียณ"




หลังจากนี้ไปก็ต้องเรียนรู้วิธีการเก็บเงินว่าจะทำอย่างไรให้เงินของเรางอกเงยทันใจไว้ใช้ในอนาคต โลกของการลงทุนนั้นไม่ยากมันจะไปทุกที่ที่อินเตอร์เน็ตเข้าถึง ถ้าเรารู้แล้วว่าต้องใช้เงินจำนวนเท่าไหร่มันก็จะเป็นแรงผลักดันให้เราอยากวางแผนการเงิน อยากเรียนรู้ อยากเก็บเงินจากการทำงาน(ไม่ใช้การคาดหวังว่าจะถูกล็อกเตอร์รี่) สินทรัพย์ที่ใช้รักษามูลค่าของเงินนั้นก็มีเยอะมาก ก็ต้องค่อยๆศึกษาเงื่อนไขของแต่ละแบบ มีตั้งแต่ฝากประจำ ลงทุนในหุ้น ตราสารหนี้ กองทุนรวม พันธบัตรรัฐบาล ซื้อทองแท่ง ทองรูปพรรณ โปรแกรมออมทองทุกเดือน เครื่องประดับเช่นเพชร ภาพเขียน งานศิลปะต่างๆ ของหายากต่างๆ นาฬิกา แอลกฮอล์ เช่น เหล้า ไวน์ ฯลฯ เลือกศึกษาเฉพาะที่เราเข้าใจก่อนแล้วค่อยศึกษาในส่วนอื่นมากขึ้นเรื่อยๆ 

เว็ปแนะนำ http://www.tsi-thailand.org/index.php ซึ่งมีสาระความรู้เรื่องการลงทุนให้ศึกษา 
มันไม่ยากอย่างที่คิด ยอมลำบากตอนนี้ดีกว่าลำบากตอนแก่นะจ๊ะ

คำนี้มันโดนจริงๆ เจอใน FB เราก็ยืมมาเขียนเป็นเรื่องของการเงินสักหน่อยละกัน

"เป็นโสดอย่างกล้าหาญ 
ขึ้นคานอย่างมีศักดิ์ศรี 
ต้องมีแผนทางการเงิน"









วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การพนัน คือ การวางเดิมพันอนาคต





โฆษณาชิ้นนี้บอกอะไรกับคุณบ้าง??

..........ก็เป็นแค่โฆษณา
..........ก็แค่เกิดกับครอบครัวเดียวไม่เห็นมีอะไรเลย 
..........เป็นเรื่องของคนอื่นไม่เกี่ยวข้องกับเราสักหน่อย 
..........ก็เป็นตัวอย่างที่ไม่ดี แต่ถ้าครอบครัวเราไม่มีคนเล่นพนันก็ไม่ต้องกังวลอะไรอยู่แล้ว
..........ดูหน้าตาฉลาดแบบนี้ไม่น่าติดพนันจนเสียครอบครัวเลย (ออกสงสารมากกว่า) 

คุณคิดว่าถ้าผู้ชายในวีดีโอไม่ติดการพนัน ครอบครัวจะเป็นอย่างไร??

ลองนึกขำๆซิว่าถ้าคนส่วนใหญ่ของสังคมเป็นนักพนันแบบนี้หละจะเป็นอย่างไร ไม่แค่ครอบครัวจะพัง สังคมก็จะพังไปด้วย มันจะเป็นอย่างไรถ้าเราเดินอยู่แล้วมีคนมาจี้หรือปล้นนำทรัพย์สินของเราไป จากที่เป็นปัญหาของครอบครัวอื่นที่เราไม่สนใจก็จะกลายมาเป็นปัญหาของเราแล้วหละ ถ้าเป็นปัญหาของเราเมื่อไหร่ก็ค่อยรู้สึกเดือดร้อน ร้องประกาศให้คนอื่นช่วยเหลือว่าเราถูกทำร้ายเพราะถูกชิงทรัพย์จากนักพนัน และก็ออกมาช่วยกันรณรงค์ให้สังคมมันดีขึ้น 

ถามจริงๆ ถ้าถึงตอนนั้นมันจะแก้ปัญหาทันไหม!!

แนวทางในการเปิดคาสิโนของไทยก็น่าสนใจเพราะเป็นการสร้างงานให้กับคนในประเทศ และเงินของคนที่เล่นพนันจะได้อยู่ในประเทศไม่ไหลออกไปที่ประเทศเืพื่อนบ้าน สุดท้ายก็ต้องบอกว่าเพื่อความเจริญก้าวหน้าของประเทศนั่นแหละ แล้วยังไงต่อหละ วิธีการสร้างความเจริญเนี้ยมันมีวิธีเดียวหรืออย่างไร ถ้าแก้ปัญหาหนึ่งแล้วก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆตามมา เช่น ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาหนี้สิน ปัญหาครอบครัว แล้วเมื่อไหร่จะแก้ปัญหาจบกันหละ

สมมติว่าถ้าทางผู้รักประเทศไทยทั้งหลายลงมติว่าต้องการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยการเปิดคาสิโนให้ถูกกฎหมาย (ทั้งที่เรามีแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติเป็นจุดขายที่ดีอยู่แล้วไม่ค่อยส่งเสริมสักเท่าไหร่)โดยออกมาในรูปแบบของสถานบันเทิงกึ่งรีสอร์ท เช่น โครงการ Integrated Resort ซึ่งในที่แห่งนั้นจะมีสิ่งบันเทิงครบวงจรในที่เดียวกัน มีโรงแรมให้พัก อาหารอย่างดีไว้เลี้ยงต้อนรับบุคคลที่เครียดเนื่องจากมีเงินเหลือเยอะจนคิดไม่ออกว่าจะเอาไปทำอะไรก็มาผ่อนคลายโดยการเสี่ยงโชคแก้เครียด หรือบางคนที่คิดว่าจะมากอบโกยเงินทองจากคาสิโนเพื่อหวังนำไปก่อร่างสร้างตัวเพราะอยากรวยกับเค้าสักที แล้วสุดท้ายมันก็เป็นแค่ความหวังจริงๆ ยิ่งหวังมากก็เจ็บมาก

แน่นอนว่าคาสิโนจะก่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้.... ว่าแต่จะสร้างแบบไหนดีหละ??

สร้างเงิน
==> สร้างงานให้กับธุรกิจก่อสร้างและธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับการก่อสร้าง
==> สร้างงานให้กับคนในท้องถิ่นจากการเข้าไปทำงานในสถานบันเทิง
==> สร้างรายได้ให้กับประเทศจากนักท่องเที่ยวที่เข้ามาใช้บริการ

.....อาจจะสร้างเงินได้อีกนะ ตอนนี้คิดไม่ออก แต่ถ้าต้องทำให้ถูกกฎหมายจริงๆก็จะมีการเขียนแผนและประมาณการรายได้มาให้ดูว่าเราจะได้เงินเท่าไหร่จากการลงทุน เขียนนโยบายโดยชักแม่น้ำทั้งห้าเพื่อบอกถึงผลประโยชน์และความคุ้มค่าของการก่อสร้าง โดยที่มีแนวทางการแก้ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นป้องกันไว้รอบด้าน แต่จะทำได้จริงรึเปล่าก็อีกเรื่องนึง

ตัวอย่างของประเทศสิงค์โปร์ 
"มองในแง่ผลประโยชน์ รัฐบาลคาดหวังว่าโครงการนี้จะก่อให้เกิดการจ้างงาน 35,000 อัตรา มีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ 15,000 ล้านดอลลาร์สิงค์โปร์ต่อปี และผลอันเกิดจากการทำงานของตัวทวีคูณ จะทำให้ภาคเศรษฐกิจอื่นๆขยายตัวตามไปด้วย เช่น โรงแรม สายการบิน ค้าปลีก ห้องพักและเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ ภาพรวมเหล่านี้จะส่งผลให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศเพิ่มขึ้นระหว่างร้อยละ 0.3-1.3 ต่อปี" (อ่านข้อมูลทั้งหมดได้ที่ข่าวด้านล่างค่ะ)

สร้างสังคม
==> สร้างงานให้กับตำรวจเพราะมีเหตุร้ายไม่เว้นแต่ละวัน อาชญากรรมบ้าง ลักทรัพย์บ้าง
==> สร้างธุรกิจ Call Center เพราะจะเกิดปัญหาคนที่อยากเลิกเล่นพนันแล้วไม่มีที่ปรึกษา
        ก็ต้องมีสายด่วนให้คำปรึกษา
==> สร้างปัญหาครอบครัว (ในตัวอย่างวีดีโอข้างต้น)
==> สร้างงานให้รัฐบาลเพราะต้องเสียงบประมาณมาดูแลคุณภาพชีวิตของคนชรามากขึ้น
        อันเนื่องมาจากไ่ม่มีเงินออมเหลือเก็บ 

......อาจจะสร้างสังคมได้อีกนะ ตอนนี้คิดไม่ออก ก็ต้องรอดูว่าแนวทางการแก้ไขที่เขียนเป็นนโยบายนั้นจะใช้ได้จริงๆรึเปล่า 

จากในอดีต มีการเล่นการพนันในบ่อน ได้แก่ บ่อนถั่วและบ่อนโปโดยใช้เบี้ยเล่นแทนเงิน เมื่อเลิกเล่นจึงเอาเบี้ยไปขึ้นเป็นเงิน สถานที่เล่นพนันจึงเรียกว่า "บ่อนเบี้ย" และการเล่นพนันถั่วและโปจึงเรียกว่า "เล่นเบี้ย" ในคราวนั้น แม้รัฐจะมีรายได้จาก "อากรบ่อนเบี้ย" มาใช้จ่ายในการพัฒนาประเทศ
แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 5 (พระพุทธเจ้าหลวง) ทรงตระหนักถึงภัยอันใหญ่หลวงของบ่อนเบี้ยการพนัน ดังความบางตอนในพระราชหัตถเลขา 

พระราชทานกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ว่า......

"...ได้เรียนตำราเล่นเบี้ยอย่างฝรั่งเข้าใจ ข้อซึ่งเข้าใจกันว่าเล่นไม่น่าสนุกนั้นไม่จริงเลย สนุกยิ่งกว่าอะไรๆหมด ถ้าชาวบางกอกได้รู้ไปเล่นแล้ว ฉิบหายกันไม่เหลือ ถ้าหากว่าไปถึงเมืองเราเข้าเมื่อไรจะรอช้าแต่สักวันเดียวก็ไม่ควร ต้องห้ามทันที"

พระองค์เห็นว่าการมีราษฎรมัวเมาในการพนันย่อมเป็นเหตุนำไปสู่ความวิบัติ ทั้งส่วนตัวและส่วนรวมในความมั่นคงของประเทศชาติ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดการปรับปรุงงานพระคลังเพื่อหารายได้อื่น มาทดแทนรายได้จากอากรบ่อนเบี้ย
 

รัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงรู้ถึงผลเสียของการพนันว่าจะทำให้ประเทศจะไม่เหลืออะไร พระองค์ยังทรงห้ามไม่ให้เกิดขึ้น ทรงมองการณ์ไกลถึงอนาคตของประเทศเป็นร้อยกว่าปีว่าจะล่มจมอย่างไร ไม่เข้าใจว่าทำไมบางคนที่เปล่งวาจาว่ารักประเทศไทยทั้งหลายไม่ทำตามดำริของพระองค์ท่าน 
==============================================================


ธุรกิจพนันเอเชียแจ้งเกิด ไทยเดินเกมอย่างไร เมื่อถูกเพื่อนบ้านล้อม !!



คนไทย 90% แห่เล่นพนันบ่อนชายแดน
ถึงกระนั้น เมื่อเส้นทางการพนัน ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในประเทศ เล่นใน ‘บ้าน’ ไม่ได้ก็ออกไปเล่นข้างนอก ข้อมูลจึงพบว่าคนไทยร้อยละ 90 นิยมเข้าไปลุ้นหน้าไพ่ในบ่อนพนันตามแนวชายแดน โดยทำทีเข้าไปในลักษณะส่วนบุคคล และจัดเป็นกรุ๊ปทัวร์เพื่อไปท่องเที่ยว แต่จริงๆ แล้วมีจุดประสงค์เข้าไปเล่นพนันโดยเฉพาะ
ที่สำคัญคนกลุ่มนี้ยังมีตั้งแต่กลุ่มเยาวชนไปจนถึงผู้สูงอายุ เพราะปัจจุบันบ่อนพนันชายแดนได้ปรับกลยุทธ์ ขยายฐานผู้เล่นหน้าใหม่ นำระบบไอทีเข้ามาเป็นส่วนผสม กลายเป็นการพนันระบบออนไลน์ต่างๆ
ที่มา : สำนักข่าวอิศรา 
เขียนโดย ณัฐนันท์  อิทธิยาภรณ์
วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม 2012 เวลา 12.08 น.



=================================================


เรื่อง เรียนรู้ประสบการณ์การเปิดบ่อนคาสิโนของสิงคโปร์

โดย ดร. รัตพงษ์ สอนสุภาพ

สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีขนาดเล็กและมีทรัพยากรจำกัด รัฐบาลเห็นว่า รายได้จากการท่องเที่ยวจะเป็นรายได้สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ จึงตัดสินใจเปิดบ่อนการพนันภายใต้โครงการคาสิโนรีสอร์ท (Casinos Integrated Resort : IRs) ขึ้นในปี 2005 เพื่อรองรับกลุ่มลูกค้าหลากหลายประเภท

ในช่วงก่อสร้าง รัฐบาลสิงคโปร์ดำเนินกระบวนการสร้างความรู้ความเข้าใจต่อสังคมอย่างต่อเนื่อง และในช่วงปี 2009-2010 ได้อนุญาตให้เปิดบ่อนการพนันอย่างถูกกฎหมายสองแห่ง คือ เซนโทซ่า (Sentosa) และมารีนาเบย์ (Marina Bay) โดยใช้เงินลงทุนเบื้องต้น 5,000 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์

มองในแง่ผลประโยชน์ รัฐบาลคาดหวังว่าโครงการนี้จะก่อให้เกิดการจ้างงาน 35,000 อัตรา มีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ 15,000 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ต่อปี และผลอันเกิดจากการทำงานของตัวทวีคูณ (Multiplier effect) จะทำให้ภาคเศรษฐกิจอื่นๆขยายตัวตามไปด้วย เช่น โรงแรม สายการบิน ค้าปลีก ห้องพัก และเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ ภาพรวมเหล่านี้จะส่งผลให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศเพิ่มขึ้นระหว่างร้อยละ 0.3-1.3 ต่อปี


มองในแง่ผลกระทบ การเปิดบ่อนการพนันอาจส่งผลต่อภาพลักษณ์ของประเทศ รวมทั้งอาจนำไปสู่ปัญหาอื่นๆทางสังคม ได้แก่ ความพยายามที่จะหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย เป็นเหตุให้ปัญหาการคอร์รัปชันเพิ่มขึ้น และอาจส่งผลในแง่ประสิทธิภาพในการบริหารงานของรัฐบาลและรัฐสภาต่อทิศทางในการกำหนดเกมการพนันของประเทศ อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากภาพลวงตาของโครงการ IRs รวมทั้งการกำหนดแนวทางในการนำเงินที่ได้จากธุรกิจการพนันไปใช้ประโยชน์ต่อสังคมอย่างไรเพื่อให้สังคมได้ประโยชน์สูงสุด เช่นด้านการศึกษาและสาธารณสุขรวมถึงการรณรงค์เพื่อลดผลกระทบจากธุรกิจการพนัน


ข้อกังวลอีกประการหนึ่งสำหรับการเปิดบ่อนการพนันในสิงคโปร์คือ ปัญหาการเสพติดการพนันของชาวสิงคโปร์เอง ซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาอื่นๆตามมา ได้แก่ ปัญหาครอบครัว ปัญหาอาชญากรรม และปัญหาหนี้สิน เป็นต้น


รัฐบาลสิงคโปร์ตระหนักถึงผลกระทบทางสังคม จึงได้ถอดบทเรียนและประสบการณ์ของเมืองหรือประเทศที่ได้มีการอนุญาตให้เปิดบ่อนการพนันอย่างถูกกฎหมายมาเป็นกรณีตัวอย่าง เช่น เมืองแอตแลนติกซิตี้ บาฮามาส และเมืองเวเนเซีย ลาสเวกัสในรัฐเนวาดา


รัฐบาลสิงคโปร์ได้ออกมาตรการทางสังคม กฎระเบียบในการเข้าไปเล่นการพนันในบ่อนคาสิโนอย่างเข้มงวด โดยเฉพาะชาวสิงคโปร์และคนที่มีถิ่นพำนักอยู่ถาวรในสิงคโปร์จะต้องเสียค่าใช้จ่าย 100 ดอลลาร์สิงคโปร์ต่อ 24 ชั่วโมง และ 2,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ต่อปี ส่วนชาวต่างชาติสามารถเข้าได้ฟรี ทั้งนี้ผู้เข้าไปเล่นจะต้องมีอายุตั้งแต่ 21 ปีขึ้นไป การเข้าไปใช้บริการในแต่ละครั้งจะต้องแสดงหลักฐานตัวตนอย่างชัดเจน เช่น บัตรประชาชนใบขับขี่ ส่วนชาวต่างชาติก็แสดงหลักฐาน เช่น หนังสือเดินทาง เป็นต้น


Pricewaterhouse Coopers LLP และ Wilkofsky Gruen Associates (2011) ประเมินว่าสิงคโปร์เป็นประเทศที่มีอัตราการเติบโตในธุรกิจนี้รวดเร็วมาก ในปี 2010 ซึ่งเป็นปีแรกที่เปิดบ่อนคาสิโน สิงคโปร์มีส่วนแบ่งตลาดถึงร้อยละ 8.2 มูลค่า 2,827 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นรองจากมาเก๊าและออสเตรเลียเท่านั้น สูงกว่าตลาดเก่าที่เปิดให้บริการอยู่แล้วทั้งเกาหลีใต้ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ นิวซีแลนด์ และเวียดนาม ในช่วงปี 2011-2015 ตลาดสิงคโปร์มีแนวโน้มเติบโตสูงมาก มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 20.5 ต่อปี กลายเป็นตลาดใหญ่อันดับสองทั้งในแง่มูลค่าและอัตราการเติบโต เป็นรองเพียงมาเก๊าที่เดียวเท่านั้น โดยในปี 2015 มีมูลค่าสูงถึง 7,172 ล้านดอลลาร์สหรัฐ


ล่าสุดมีข่าวออกมาว่า การพนันโดยรวมของคนสิงคโปร์ลดลง แต่ผลการสำรวจสะท้อนว่า ประชาชนที่มีรายได้ต่ำทุ่มเงินไปกับการพนันมากขึ้น วางเดิมพันก้อนใหญ่ขึ้น นักพนันหน้าเดิมเล่นพนันบ่อยขึ้น และมีคนขอคำปรึกษาเกี่ยวเนื่องกับปัญหาการพนันมากขึ้น ทำให้รัฐบาลต้องเดินหน้าแก้ปัญหาเรื่องนี้ ด้วยการห้ามผู้ล้มละลายหรือผู้ที่พึ่งพาความช่วยเหลือจากรัฐเข้าคาสิโน เพิ่มโทษทางวินัยแก่ผู้ดำเนินงานคาสิโนที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย รวมถึงจำกัดสินเชื่อสำหรับนักพนัน และกำลังพิจารณามาตรการอื่นๆเพิ่มเติมจากกฎที่เคยห้ามคาสิโนโฆษณาพุ่งเป้าไปที่คนท้องถิ่น และจำกัดหน้าม้าที่หานักพนันกระเป๋าหนักเข้าคาสิโน






วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

อยากให้คนออมเงินแต่ทำไมมีแต่โฆษณาสินเชื่อ??


ขณะที่หนี้ภาคครัวเรือนสูงขึ้นมาอยู่ที่ 56% ของจีดีพี 
และสูงกว่าสัดส่วนผลตอบแทนจากการจ้างงาน
ต่อรายได้ประชาชาติคงที่อยู่ระดับ 35-38% 
แสดงถึงความเสี่ยงที่สูงขึ้นต่อความสามารถชำระหนี้ของครัวเรือน 
จากข้อมูลปี 2554 พบว่า ครัวเรือนที่มีการชำระหนี้ 
มีสัดส่วนของการชำระหนี้สูง 1 ใน 3 ของรายได้ในแต่ละเดือน 
เกินระดับหนี้ต่อรายได้ที่มีความเหมาะสมอยู่ที่ 28% 
โดยเฉพาะอย่างยิ่งครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาทต่อเดือน 
จะมีสัดส่วนการชำระหนี้ต่อรายได้เฉลี่ยสูงถึงเกือบสองเท่าของระดับดังกล่าว **

**ติดตามเนื้อหาข่าวฉบับเต็มอยู่ด้านล่าง

โฆษณาหลายๆสื่อ เช่น ทีวี วิทยุ อินเตอร์เน็ต นิตยสาร FB ป้ายโฆษณาและอีกหลายๆทางตามแต่จะมีช่องทางให้เข้าถึงคนหมู่มากๆ เคยลองนั่งนับไหมว่ามีโฆษณาให้สินเชื่อจำนวนเท่าไหร่ ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อบ้าน สินเชื่อรถยนต์ อนุมัติเร็วทันใจภายในไม่กี่นาที มาขอสินเชื่อวันนี้ลุ้นแลกทอง และมีอีกหลายโฆษณาที่ดูแล้วยังจำไม่ค่อยได้เลยว่าบริษัทให้อะไรบ้าง มันเยอะไปหมดเลือกไปกู้ไม่ถูกกันเลยทีเดียวว่าจะไปกู้ใครดี โปรโมชั่นน่าสนใจทั้งนั้นเลย

จากคำพูดที่พร่ำบอก(หรือแค่พูดถึงพอเป็นพิธีก็ไม่ทราบ)ว่าเป็นห่วงเรื่องการออมของประชาชนและรณรงค์เรื่องการออมเงิน อยากให้คนไทยเป็นสังคมการออมกันมากขึ้น ออมเงินไว้ใช้หลังเกษียณ ฯลฯ นอกจากสื่อทางหนังสือพิมพ์ที่เป็นข่าวแล้ว ทำไมไม่เห็นมีโฆษณาทางทีวีบ้างเลย หรือถ้ามีแล้วช่วยกันนับหน่อยว่าโฆษณากี่ครั้ง มีบ้างไหมที่จะทำโฆษณาส่งเสริมการออมเงินออกมาเผยแพร่ให้ดูน่าสนใจ มากกว่าให้นักข่าวอ่านให้ผ่านหูไปวันๆ

แค่อยากเห็นโฆษณาสร้างสรรค์สังคมบ้างหนะค่ะ

เชื่อว่าหลายคนเคยเห็นโฆษณาของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ประโยคเด็ดๆที่จำได้ " จนเ ครียด กินเหล้า" , "ให้เหล้า = แช่ง"

วีดีโอของ สสส. การทำเกษตรผสมผสานชุดนึงที่ดูแล้วน่ารักดีค่ะ ชื่อชุด เกษตรประณีต


หลายโฆษณาที่ออกมาก็เป็นจุดเริ่มสร้างค่านิยมใหม่ๆให้กับสังคมไทย เช่น ให้เหล้า = แช่ง ทำให้คนมาฉุกคิดเรื่องของขวัญกันมากขึ้น แม้ว่าตอนแรกอาจจะเปลี่ยนได้ยาก แต่เชื่อว่าถ้าตอกย้ำทุกวันคนก็จะเลิกให้เหล้าเป็นของขวัญอย่างแน่นอน

ลองคิดเล่นๆถ้าทาง สสส. เพิ่มการดูแลสุขภาพร่างกายมาช่วยดูแลสุขภาพของเงินในกระเป๋าบ้างหละรูปแบบโฆษณาจะออกมาเป็นอย่างไร ถ้าได้รับเงินสนับสนุนจากแหล่งสถาบันการเงินที่ได้ชื่อว่าส่งเสริมให้คนรักการออมเงิน มียอดการปล่อยสินเชื่อพุ่งกระฉูดมาสนับสนุนด้วยแล้ว รับรองว่าได้หน้า เอ๊ย!!ไม่ใช่ซิ เป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีทีเดียวแหละ อาจจะเห็นโฆษณาเด็ดๆวิ่งไปมาในทีวีบ่อยๆก็ได้ เช่น

"จน เครียด เลิกเล่นหวย"  หรือ "ออมเงิน = รวย" หรือ "เครดิตดี = ไม่มีหนี้ก็ได้"

การบริโภคนั้นทำให้เกิดเงินหมุนเวียนในระบบก็จริง แต่ถ้ามากเกินไปจนไม่ป้องกันก็จะทำให้ระบบเสียหายได้เหมือนปี 40 ที่เราโตจากภาคการเงิน การเก็งกำไร ไม่ได้โตจากพื้นฐานเศรษฐกิจที่แท้จริงก็เกิดเป็นวิกฤตขึ้นมา ลองคิดเล่นๆว่าการสมัครบัตรเครติดจะมีสัญญาที่ตัวเล็กและพิมพ์ชนิดที่ไม่ชวนอ่านเอาซะเลย เหมือนตั้งใจไม่อยากให้อ่าน น่าจะมีการนำเสนอแบบอื่นดูบ้าง ของเดิมคงมีอยู่แค่ทำเพิ่มโดยใช้สื่ออินเตอร์เน็ตให้เป็นประโยชน์ ทำวีดีโอนำเสนอสัญญาเป็นตัวการ์ตูนที่ดูแล้วเข้าใจง่ายๆว่าเนื้อหาของสัญญาคืออะไร เลือกมาแต่เรื่องที่ต้องรู้เบื้องต้นของสัญญา พอดูจบตอบคำถาม 5 ข้อ ถ้าตอบถูก 3 ใน 5 ข้อก็จะได้รับคะแนนสะสม 100 คะแนน เป็นของรางวัล แค่นี้ก็จะทำให้คนเริ่มสนใจอ่านสัญญาด้านหลังมากขึ้น หรือว่าจะแจกวิธีการใช้บัตรเครดิตที่ถูกต้องเพื่อให้ผู้บริโภครู้จักป้องกันตนเอง ไม่ให้เป็นหนี้เกินตัวและจะได้เป็นลูกหนี้เกรด A ของเรานานๆไงค่ะ ก็ทำเป็น CSR ได้ด้วย

การซื้อขายในสมัยก่อนก็เป็นลักษณะของการแลกกัน ก็แค่หาคนที่มีความต้องการเหมือนกันก็แลกกันได้ แต่กว่าจะหากันเจอในบางครั้งก็เหนื่อย ก็เลยเกิดมาเป็นหาตัวกลางในการแลกเปลี่ยนโดยที่เรากำหนดมูลค่าให้ตัวกลางนั้นๆ ซึ่งปัจจุบัน คือ เงิน นั่นเอง จากแต่ก่อนที่ต้องหอบเหรียญร้อยใส่เอวไปซื้อของ ก็เริ่มทำให้พกพาสะดวกขึ้นเป็นธนบัตร บางครั้งพกเงินสดมากๆก็กลัวหายก็เลยต้องพกเป็นบัตรเครดิตเวลาจะจ่ายอะไรก็สะดวกมากขึ้น(เป็นหนี้โดยไม่รู้ตัวง่ายขึ้นด้วย) ก็เลยลองคิดเล่นๆว่า ต่อไปเราอาจจะไม่ต้องพกเงินสดเลยก็ได้ มีบัตรใบเดียวใช้แทนเงินสดและก็ทำธุรกรรมได้ทุกอย่าง เพียงแค่มีโทรศัพท์มือถือเป็นตัวช่วยในการส่งคำสั่งทำธุรกรรมเพียงแค่กดๆๆ ทำได้ทุกที่ทุกเวลา ประหนึ่งว่ามีธนาคารบนมือถือ ต่อไปคนหน้าเคาเตอร์ที่ธนาคารคงมีน้อยลงเพราะโทรศัพท์ทำได้เองทุกอย่าง มีคนเคยบอกว่า "ทุกความคิดเป็นไปได้" ก็เลยมีไอเดียฟุ้งๆ คิดขำๆเรื่องการออมเงิน เลยตั้งคำถามว่า...

ถ้าโลกนี้มี "บัตรเงินออม" มันจะเป็นอย่างไร??

บัตรเงินออมเป็นบัตรที่บ่งบอกทางวินัยทางการเงินส่วนบุคคลของผู้ถือบัตร โดยที่บัตรเงินออมจะบันทึกรายรับรายจ่ายของผู้ถือบัตร ว่าแต่ละเดือนมียอดรายรับรายจ่ายเท่าไหร่ ถ้าใครมีพฤติกรรมการใช้เงินที่ผิดปกติ เช่น ฟุ้งเฟ้อ ใช้เงินเกินตัว หรือควบคุมการใช้จ่ายของตัวเองไม่ได้ ระบบก็จะส่งเมล์ไปแจ้งเตือนว่า "คุณมียอดการใช้จ่ายที่ควรได้รับการดูแล" พอแจ้งเตือนไปแล้วเจ้าของบัตรไม่สนใจแก้ไขปรับปรุงการใช้เงินของตัวเอง ก็จะถูกเรียกเข้าพบซึ่งในครั้งนี้ก็จะต้องถูกเข้ารับการอบรมวิธีการใช้เงินที่ถูกต้อง(เหมือนจับมาเลิกยาที่ถ้ำกระบอก)หลังจากจบการอบรมเค้าก็จะมีความรู้ในการดูแลการเงินของตัวเองมากขึ้น

บทความน่าสนใจ


บัตรเครติต & ตลาดหุ้น...หลักการกับปฎิบัติมันไม่เหมือนกัน
==>http://pajareep.blogspot.com/2012/12/blog-post.html


=============================================================


ไทยพาณิชย์ชี้เสี่ยง"หนี้แซงรายได้" ธปท.เกาะติดครัวเรือนค้างชำระเกิน1เดือนพุ่งขึ้น


ธปท.ย้ำเกาะติดสถานการณ์หนี้เอกชนหลังเติบโตสูงต่อเนื่อง หวั่นกระทบเสถียรภาพระบบการเงิน ชี้เริ่มเห็นสัญญาณภาคครัวเรือนชำระหนี้ช้าลง ด้าน "ไทยพาณิชย์" เตือนระวังภาระหนี้โตเร็วนำรายได้ กระทบเศรษฐกิจ

นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า แม้ขณะนี้ ธปท.ให้น้ำหนักความเสี่ยงต่อการเติบโตของเศรษฐกิจมากกว่า แต่ขณะเดียวกันก็กังวลต่อปัญหาระยะยาวที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้นโยบายดอกเบี้ยต่ำเป็นเวลานานเกินไป ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการออมของเอกชน รวมถึงการกู้ยืมเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ทำให้ราคาปรับขึ้นและหนี้ภาคครัวเรือนที่ขยับขึ้นตาม ซึ่งธปท.ยังติดตามอย่างใกล้ชิด อีกทั้งมีหลายปัจจัยมีผลต่อทิศทางของนโยบายการเงินในระยะต่อไป หนึ่งในนั้นคือความเสี่ยงจากสินเชื่อเอกชนที่ขยายตัวสูง ซึ่งช่วงที่ผ่านมาสินเชื่อขยายตัว 15-16% ทำให้ ธปท.ต้องเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะเป้าหมายของนโยบายการเงินต้องดูแลเสถียรภาพสถาบันการเงินด้วย

"ธปท.ติดตามขณะนี้ระดับหนี้เสียยังไม่ได้น่ากังวล เพราะดอกเบี้ยแบงก์จะลดลง ความต้องการสินเชื่อเข้ามามาก แต่มาตรฐานการกลั่นกรองให้สินเชื่อของแบงก์พาณิชย์ไม่ได้ลดลง" นายไพบูลย์กล่าว 

ทั้งนี้ รายงานแนวโน้มเงินเฟ้อฉบับล่าสุดของ ธปท. ระบุผลสำรวจความเห็นผู้บริหารระดับสูงของสถาบันการเงินที่ดูแลงานด้านสินเชื่อ ณ สิ้นเดือน ก.ย. 2555 พบว่า การขยายตัวของสินเชื่อเอกชนในระยะต่อไปมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทั้งส่วนสินเชื่อธุรกิจและครัวเรือน 

ทั้งนี้ ณ เดือน ส.ค. สินเชื่อภาคเอกชนขยายตัว 15.93% ชะลอลงจาก 16.49% ในเดือนก่อนหน้า ส่วนหนึ่งเป็นผลจากสินเชื่อภาคธุรกิจเริ่มชะลอ ขณะที่สินเชื่อภาคครัวเรือนยังขยายตัวสูง เช่น สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ 

ในรายงาน ยังระบุว่า ปัจจัยเสี่ยงของภาคครัวเรือนระยะต่อไปมีทั้งจากปัญหาเศรษฐกิจโลกที่กระทบต่อเศรษฐกิจไทยมากขึ้น และอาจส่งผลถึงรายได้ภาคครัวเรือน ความสามารถในการชำระหนี้ของภาคครัวเรือนที่ด้อยลงจากการก่อหนี้สินเชื่อที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 

"เริ่มเห็นสัญญาณความเสี่ยงต่อความสามารถในการชำระหนี้ของภาคครัวเรือนกลุ่มที่มีรายได้ต่ำถึงปานกลางหรือรายได้น้อยกว่า 25,000 บาทต่อเดือน ที่กู้เงินจากบริษัทประกอบธุรกิจบัตรเครดิตกลุ่มน็อนแบงก์ สะท้อนจากสินเชื่อค้างชำระเกิน 1 เดือนของครัวเรือนเร่งสูงขึ้นต่อเนื่อง" 

นางสาวสุทธาภา อมรวิวัฒน์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ ระบุว่า สัดส่วนหนี้ภาคเอกชนของไทยต่อจีดีพีได้ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง เฉลี่ย 4% ต่อปีในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา และปัจจุบันหนี้ภาคครัวเรือนและหนี้ภาคธุรกิจมีขนาดเท่ากันแล้ว คือประมาณ 56% ของจีดีพี ซึ่งการขยายตัวของหนี้ภาคครัวเรือนเป็นผลจากการให้สินเชื่อของธนาคารเป็นหลัก โดยเฉพาะธนาคารรัฐที่สนองนโยบายของรัฐ จนสินเชื่อภาคครัวเรือนสูงกว่า 45% ของสินเชื่อภาคครัวเรือนทั้งหมด

อย่างไรก็ตาม แม้หนี้เอกชนจะเพิ่มขึ้น แต่ภาระหนี้ได้ลดลงมาก เห็นได้จากอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ 5-8% ทำให้ต้นทุนดอกเบี้ยต่อปีของเอกชนเท่ากับ 7.7% ของจีดีพี หรือครึ่งหนึ่งของช่วงก่อนวิกฤตปี 2540

ขณะที่หนี้ภาคครัวเรือนสูงขึ้นมาอยู่ที่ 56% ของจีดีพี และสูงกว่าสัดส่วนผลตอบแทนจากการจ้างงานต่อรายได้ประชาชาติคงที่อยู่ระดับ 35-38% แสดงถึงความเสี่ยงที่สูงขึ้นต่อความสามารถชำระหนี้ของครัวเรือน จากข้อมูลปี 2554 พบว่า ครัวเรือนที่มีการชำระหนี้ มีสัดส่วนของการชำระหนี้สูง 1 ใน 3 ของรายได้ในแต่ละเดือน เกินระดับหนี้ต่อรายได้ที่มีความเหมาะสมอยู่ที่ 28% โดยเฉพาะอย่างยิ่งครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาทต่อเดือน จะมีสัดส่วนการชำระหนี้ต่อรายได้เฉลี่ยสูงถึงเกือบสองเท่าของระดับดังกล่าว 

นอกจากนี้ ครัวเรือนในเกือบทุกกลุ่มรายได้ (ยกเว้นครัวเรือนที่มีรายได้ต่อเดือนเกินกว่า 100,000 บาท) ยังมีภาระหนี้ต่อเดือนต่ำกว่าระดับ 28% เพียงเล็กน้อย อาจก่อให้เกิดปัญหาทั้งต่อครัวเรือนและเศรษฐกิจไทยโดยรวมได้ในอนาคต หากภาระหนี้ดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้น


31 ต.ค. 2555 เวลา 16:43:57 น.
ที่มา : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์


วันพุธที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2555

คนล้มละลาย เศรษฐกิจก็ล้มละลาย

เมื่อวันก่อนเดินผ่านธนาคารแห่งหนึ่งแถวที่ทำงานก็เห็นรองเท้าแตะคู่หนึ่งวางอยู่ตรงบันไดข้างหน้าธนาคาร เราก็นึกสงสัยว่าใครมาถอดไว้ตรงนี้ พอมองเข้าไปด้านในก็เห็นมีคนยืนเท้าเปล่าอยู่ที่ประตูข้างในธนาคาร โดยที่กำลังยืนคุยกับเพื่อนที่อยู่ด้านนอก ลักษณะการแต่งตัวของทั้งคู่เหมือนคนงานก่อสร้างมากๆ เราแค่เดินผ่านก็เลยไม่รู้ว่าเหตุการณ์จะเป็นยังไงต่อไป แต่มันก็ทำให้เราเกิดเป็นรอยยิ้มได้ รู้สึกชื่นชอบ ประทับใจในความซื่อ น่ารักของเค้า และคนนั้นก็เป็นแรงบันดาลใจให้รู้สึกอยากจะเขียนบล็อกขึ้นมา อยากจะเขียนขอบคุณคนงานก่อสร้างทุกคนที่ทำให้คนเมืองมีตึกสูงๆ มีรถไฟฟ้า ซึ่งเค้าก็เป็นหนึ่งในแรงงานตัวเล็กที่ทำให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนไปได้ ไม่ใช่ว่าเราจะเป็นคนทำงานตำแหน่งเล็กๆแล้วไม่มีความสำคัญต่อสภาพเศรษฐกิจ มันไม่ใช่นะคะ ทุกคนเกิดมามีความสำคัญเท่าเทียมกัน สามารถสร้างความเจริญก้าวหน้าหรือถอยหลังให้เศรษฐกิจได้เหมือนๆกัน ลองคิดง่ายๆว่าถ้าทุกคนทั้งประเทศมีงานทำไม่ว่าจะเป็นภาคเกษตรกรรมหรืออุดสาหกรรมก็ตาม ก็จะมีการบริโภคเกิดขึ้น มีการจับจ่ายใช้สอยก็ทำให้มีเงินหมุนไปมาในระบบเศรษกิจก็เติบโต แต่ในถ้ามองกันในอีกด้านหนึ่งของการเติบโตทางเศรษฐกิจ ถ้าการจับจ่ายใช้สอยนั้นมีฐานมาจากการกู้หนี้ยืมสิน การใช้จ่ายเกินตัวหรือที่เรียกว่านำเงินในอนาคตมาใช้จ่ายมากเกินไป ก็จะทำให้สภาพเศรษฐกิจที่รัฐประกาศว่าโตมากขึ้นก็เป็นการเติบโตแบบไม่ยั่งยืน เพราะมีเงินก็ใช้จ่ายอย่างเดียว เก็บออมเงินเพื่ออนาคตน้อยลงเพราะเห็นแต่ความสุขใกล้ตัวเพียงชั่วขณะ ดังนั้น "การบริหารเงินส่วนบุคคล" ซึ่งนับว่าเป็นหน่วยเศรษฐกิจที่เล็กที่สุด ก็ต้องได้รับการดูแลดีทีสุดด้วยเช่นกัน รัฐหรือใครหน้าไหนไม่สามารถดูแลเงินในกระเป๋าเราได้ดีเท่ากับตัวเราเอง ดังนั้นการสร้างเกราะป้องกันตนเองด้วยคำว่า "ประมาณตนเอง" นั้นดีที่สุดค่ะ

ดิฉันมีเพื่อนสนิทคนนึงที่คิดว่าน่าจะเป็นกรณีศึกษาได้ก็เลยจะมานินทาเพื่อนให้ฟังหนะค่ะ การใช้เงินก็เหมือนกับคนทั่วไป เงินเดือนเยอะก็จับจ่ายใช้สอยเยอะเป็นธรรมดา มีผ่อนคอนโดบ้าง มีหนี้บัตรเครดิตก็มีแต่ก็อยู่ในจำนวนที่สามารถจ่ายได้  อยากซื้ออะไรก็ซื้อโดยไม่ค่อยคิดอะไรมากมาย และก็มีเงินฝากประจำ ดูแล้วเหมือนจะไม่มีอะไร แต่พอเธอเปลี่ยนงานเท่านั้นแหละ เงินเดือนที่ใหม่ก็ไม่เป็นดังหวังทำให้ต้องระมัดระวังรายจ่ายมากขึ้นกว่าเดิมแบบไม่ทันตั้งตัว ก็ไม่ถึงกับไม่มีทางออกเพราะทางบ้านก็สามารถช่วยเหลือได้ แต่ก็ต้องมีการดัดนิสัยกันบ้างเพื่อให้มีระเบียบทางการเงินมากขึ้น บัตรเครดิตเป็นสิ่งแรกที่ถูกยกเลิก เพราะเป็นช่องทางเงินออกและทำให้เสียนิสัยทางการเงินโดยเป็นหนี้ง่ายที่สุด โชคดีที่ทางครอบครัวรับชำระหนี้บัตรเครดิตให้เลยเบาตัวไปได้บ้าง ก็รู้สึกแปลกที่ก่อนหน้้านี้ที่เคยสัญญาไว้อย่างดีว่าจะมีระเบียบวินัยทางการเงิน เป็นหนี้เฉพาะที่จ่ายได้ แต่การจ่ายเงินโดยไม่เห็นบิลรายจ่ายเนี้ยทำให้เราใช้จ่ายจนลืมตัวจริงๆ พอเจอกับเพื่อนเมื่อวานนี้ทำให้รู้ว่ามันเปลี่ยนไปเยอะมาก รู้สึกได้ว่ามันตระหนี่มากขึ้น แยกแยะความจำเป็นของสิ่งที่จะซื้อได้ดีกว่าแต่ก่อนมาก เราก็ถามว่า "แกไม่เปลี่ยนแผ่นฟิมล์ติดมือถือใหม่หรอ" มันบอกว่า "ไม่หงะเพราะเปลือง อันนี้ก็ใช้ได้อยู่" ณ ตอนนั้นขำมากเพราะคุยอะไรก็บอกแต่ว่า "เปลืองเงิน , ไม่จำเป็น , มันยังใช้ได้" ก็รู้สึกดีที่ได้ยินแบบนี้

ถ้ามองประเทศเป็นร่างกายมนุษย์ ประชากรหรือเรียกง่ายๆว่าัตัวเรานั่นแหละก็เปรียบเสมือนเซลล์ที่ช่วยทำให้ร่ายกายมีชีวิตอยู่ได้ ถ้าเริ่มมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นกับเซลล์ ร่างกายก็เริ่มรับรู้ได้ถึงความผิดปกติไปด้วย โดยที่แรกๆเราอาจจะไม่สนใจเพราะคิดว่าก่อให้เกิดปัญหา ก็เลยไม่ไปหาหมอเพื่อตรวจดูอาการ แต่พอปล่อยไว้นานๆ เซลล์ผิดปกติขึ้นไปเรื่อยๆจนกลายเป็นมะเร็ง นั่นแหละเราก็พึ่งหันมาดูแลรักษาร่างกายของเรา

โดยที่......

ร่างกายมนุษย์ ==> สภาพสังคม สภาพเศรษฐกิจ สาธารณสุข ศาสนาฯลฯ
เซลล์              ==> วัยเด็ก วัยรุ่น วัยกลางคน วัยชรา
สิ่งผิดปกติ      ==> ปัญหาสังคม การก่ออาชญากรรม ภาระก่อหนี้เกินตัว ความฟุ้งเฟ้อ การพนันฯลฯ

ดังนั้น สภาพสังคมที่มีแต่คนจับจ่ายใช้สอยเกินตัว กู้หนี้ยืมสิน ถูกมอมเมาด้วยอบายมุข เช่นการพนัน โดยอ้างนโยบายว่าจะนำเงินที่ได้จากการจำหน่ายหวยออนไลน์นั้นมาพัฒนาสังคม มารณรงค์ให้คนไม่เล่นการพนัน เป็นทุนการศึกษา ชิชะ!! ตลกสิ้นดี มันก็ไม่ต่างกับการที่เราตัดไม้บนภูเขาจนกลายเป็นเขาหัวโล้น เป็นดินทรายแห้งแล้ง แล้วก็ใช้งบประมาณที่ได้ส่วนแบ่งจากการขายไม้ไปซื้อต้นไม้มาปลูกใหม่ให้มันโตอีกครั้ง เสียงบประมาณในการฟื้นฟูภูเขาหัวโล้น ขอถาม 3 คำ "เพื่ออะไร" สภาพที่มันเสียหายไปแล้วก็ยากที่จะกลับคืนมา เสียงบประมาณโดยเปล่าประโยชน์ หรือการเก็งกำไรอสังหาริมทรัพย์กันอย่างไม่ลืมหูลืมตาเหมือนปี 2540 ประเทศจะไม่ล้มได้อย่างไร


=============================================================
ขอขอบคุณบทสัมภาษณ์จาก http://thaipublica.org
วิกฤติ 2540 ทำให้เศรษฐีหลายคน “ตกสวรรค์” หรือกลายเป็นแค่ “คนเคยรวย” หนึ่งในนั้นคือ “ศิริวัฒน์ วรเวทวุฒิคุณ” เซียนตลาดหุ้นและเจ้าพ่ออสังหาริมทรัพย์ ที่เจอพิษวิกฤติต้มยำกุ้งจนถูกฟ้องล้มละลาย ทำให้ชีวิตพลิกผันจากที่เคยนั่งทำงานในห้องแอร์เย็นๆ กลับต้องมาเดินขายแซนด์วิชข้างถนนในวัย 48 ปี
แต่ 15 ปีผ่านไป ชีวิตต้องสู้ของเขาทำให้สามารถลุกขึ้นมายืนได้อีกครั้ง ในฐานะประธานบริษัท ทีจีไอเอฟ จำกัด และล่าสุดเตรียมจะนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ MAI ในปีหน้า
ดังนั้น เนื่องในโอกาส 15 ปี วิกฤติ 2540 สำนักข่าวไทยพับลิก้า ได้สัมภาษณ์พิเศษ “ศิริวัฒน์ วรเวทวุฒิคุณ” หรือที่ใครๆ รู้จักในนาม “ศิริวัฒน์แซนด์วิช” เพื่อให้เขาถ่ายทอดประสบการณ์ในฐานะนักลงทุนรายใหญ่ในตลาดหุ้นช่วงฟองสบู่พองโต กับช่วงหลังฟองสบู่แตก และประสบการณ์ชีวิตต้องสู้ข้างริมฟุตบาท
“ศิริวัฒน์ วรเวทวุฒิคุณ” เปิดประสบการณ์วิกฤติ 2540 ตั้งแต่การมองรากเหง้าของปัญหา และภาวะฟองสบู่ที่เขามีส่วนร่วมเป็นผู้เล่นทั้งในตลาดหุ้นและตลาดอสังหาริมทรัพย์ จนบาดเจ็บมีภาระหนี้สินทั้งหุ้นและอสังหาริมทรัพย์รวม 4-5 ร้อยล้านบาท ยังไม่รวมดอกเบี้ยอีกปีละ 17-19% ในช่วงจังหวะนั้น คนเคยรวยอย่างเขาคิดอย่างไร ติดตามได้จากบทสัมภาษณ์พิเศษ “ศิริวัฒน์ วรเวทวุฒิคุณ”
ติดตามบทสัมภาษณ์ที่ http://thaipublica.org/2012/10/series-15-year-crisis-siriwat/


บทสัมภาษณ์ ดร.ทนง พิทยะ ตอนที่เป็นรัฐมนตรีการคลังในช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง น่าสนใจมากๆ มันทำให้เรารู้ว่าประเทศล้มละลายได้อย่างไร



ที่มา : http://thaipublica.org/ 


ข้อมูลและรายละเอียดการให้สัมภาษณ์ตามลิ้งค์นี้ค่ะ
http://thaipublica.org/2012/07/series-15-years-of-crisis-1/




วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555

ภาพรวมของการวางแผนเกษียณ...ยิ่งเร็วยิ่งดี

อนาคตมันเป็นสิ่งไม่แน่นอนก็จริง แต่เราสามารถลดความไม่แน่นอนลงได้ด้วยการวางแผน วัยรุ่นหรือคนทำงานอายุไม่เกิน 40 จะมีใครบ้างที่เริ่มวางแผนเกษียณ มันยาวและไกลเกินไป แต่การวางแผนเกษียณนั้นยิ่งเริ่มเร็วเท่าไหร่ยิ่งดี บางคนคิดว่าจะทำแต่ติดโน้นนี่นั่นเต็มไปหมดเลยยังไม่ทำ แต่บางคนไม่เคยคิดและไม่คิดจะทำเพราะปล่อยให้เป็นเรื่องของอนาคต นั่นแหละชีวิตจะมีความไม่แน่นอนของจริง "อย่าลืมว่าอนาคตจะเกิดไม่ได้ถ้าเราไม่ทำในปัจจุบันนะค่ะ"

การคำนวนตัวเลขค่อนข้างที่จะยุ่งยากที่แปลงมูลค่าแหล่งของเงินหลังเกษียณเป็นมูลค่า ณ อายุที่เกษียณ เพื่อความง่ายจะไม่กล่าวถึงจุดนั้น ให้เราเข้าใจแนวคิดของการวางแผนเกษียณเป็นใช้ได้ นอกนั้นไปจ้างผู้เชี่ยวชาญวางแผนให้อีกทีนึงค่ะ ก่อนอื่นมาดูภาพรวมของการวางแผนเกษียณว่าเป็นอย่างไร เข้าในแนวคิดของการวางแผนเกษียณแล้วค่อยมาลงในรายละเอียด




อธิบาย "ภาพรวมของการวางแผนเกษียณ"
หมายเลข 1 เป็นจุดที่เรายืนอยู่ในปัจจุบัน ต้องดูว่าเรามีแหล่งของรายได้เพื่อเกษียณอะไรบ้าง และมีมูลค่าเป็นเท่าไหร่ ณ วันที่เราต้องการเกษียณ (หมายเลข 3) ซึ่งการออมเงินแต่ละรูปแบบก็จะมีวิธีการคิดแตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข เช่น ถ้าเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพก็ต้องมาดูว่าเราทำงานมากี่ปี มีการคงเงินในกองทุนหรือไม่ ถ้าไม่ถอนเงินออกจะได้เงินสมทบจากนายจ้างเท่าไหร่ หรืือ กบข.ก็ต้องมาดูว่าเป็นข้าราชการก่อนหรือหลัง 27 มีนาคม 2540 เพราะสูตรการคิดคำนวณก็แตกต่างกัน เป็นต้น การคำนวณนี้ต้องใช้เครื่องคิดเลขทางการเิงิน ถ้ามือถือใครโหลดแอพนี้ได้จะดีมากเลยค่ะ โหลดฟรีค่ะ ปุ่มที่เราจะใช้คือ สีเขียวกับสีเทาค่ะ



วิธีการกดเครื่องคิดเลข
ตัวอย่าง ตอนนี้นาย ก อายุ 30 ปี ถ้าเรามีเงินฝาก 1,000,000 บาท ได้รับดอกเบี้ย 3% และคาดว่าจะเกษียณอายุ 55 ปี เงินฝากจำนวนนี้จะมีมูลค่าเท่าไหร่ ณ วันเกษียณ

55-30 = 25  N ; 1,000,000 PV ; 3 I/Y  ; CPT  FV ==> 2,093,777 บาท

หมายความว่า เงินจำนวน 1,000,000 บาท ฝากธนาคารได้รับดอกเบี้ย 3% ในระยะเวลา 25 ปี เราจะได้เงิน ณ วันที่เราเกษียณ  2,093,777 บาท 

หมายเลข 2 เมื่อเราเกษียณแล้วจะมีค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพหลังเกษียณเท่าไหร่ การคำนวณเงินที่ต้องการเมื่่อเกษียณมีการคำนวน 2 วิธี ซึ่งในทางปฏิบัติวิธีที่ 1 เหมาะกับช่วงที่ยังอายุไม่มาก ส่วนวิธีที่ 2 เหมาะกับคนที่ใกล้จะเกษียณอายุ เนื่องจากสามารถประมาณการค่าใช้จ่ายในช่วงใกล้เกษียณได้ใกล้เคียงความจริงที่สุด วิธีคำนวณดังนี้ค่ะ

1. Income Method (Replacement Ratio Method) วิธีการนี้จะประมาณการว่าเราต้องการมีเงินได้เป็นสัดส่วนเท่าใดในปีแรกที่เกษียณ โดยเปรียบเทียบกับเงินได้ที่ไ้ด้ัรับก่อนเกษียณ เพื่อให้มีสภาพการดำรงชีพในปีแรกที่เกษียณตามที่ตั้งใจ โดยทั่วไปสัดส่วนของเงินได้ในปีแรกที่เกษียณจะอยู่ที่ 50-70% ของเงินได้ก่อนเกษียณ เป็นสัดส่วนที่ไม่ตายตัว ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับเป้าหมายทางการเงินของเราเป็นหลัก แต่ถ้าหากว่าเราใช้สัดส่วนที่ต่ำเกินไปอาจจะต้องประสบปัญหาที่มีเงินไม่เพียงพอตลอดการเกษียณ วิธีการคำนวณนี้เป็นวิธีที่ง่ายเพราะมีข้อมูลที่ใช้ในการคำนวณ ใช้ END Mode 

ตัวอย่างวิธีคำนวณ 
นาย ก อายุ 30 ปี มีเงินเดือนๆละ 45,000 บาทเป็นรายได้ปีละ 540,000 บาท โดยวางแผนเกษียณในอีก 25 ปีข้างหน้า อัตราการเพิ่มของรายได้เฉลี่ย 5% ต่อปี ดังนั้น รายได้ที่นาย ก จะได้รับในอีก 25 ปีข้างหน้ามีจำนวนเท่าใดและ replacement ratio = 70%

25 N ;  540,000 PV ;  5 I/Y ;  CPT  FV      ==> 1,828,631
Replacement Ratio = 70%                           ==> 1,828,631 x 0.7 = 1,280,042

หมายความว่า นาย ก มีรายไ้ด้ที่จะได้รับในอีก 25 ปีข้างหน้าคือ1,828,631 และถ้านาย ก ต้องการมีรายได้ในปีแรกที่เกษียณเท่ากับ 70% ของรายได้ก่อนเกษียณ ดังนั้น เป้าหมายรายได้ของนาย ก ที่ต้องการนำไปใช้เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตหลังเกษียณต่อปี คือ 1,280,042 บาทต่อปีหรือ 106,670 บาทต่อเดือน  

2.Expense Method วิธีการนี้จะประมาณการค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในปีแรกที่เกษียณ โดยการนำรายการค่าใช้จ่ายต่างๆที่มีอยู่ในปัจจุบันมาคาดการณ์ว่ามีมูลค่าเท่าใดเมื่อเกษียณอายุ โดยเปรียบเทียบทีละรายการ ว่าค่าใช้จ่ายประเภทใดที่จะเพิ่มขึ้นหรือค่าใช้จ่ายใดที่จะลดลงเมื่อเกษียณอายุ ซึ่งต้องสอดคล้องกับเป้าหมายทางการเงินและรูปแบบการดำเนินชีวิตที่เราต้องการด้วย ในการประมาณการค่าใช้จ่ายเมื่อเกษียณนั้นต้องปรับรายการค่าใช้จ่ายด้วยอัตราเงินเฟ้อ และต้องปรับเครื่องคิดเลขให้เป็น BGN Mode นะค่ะ เพราะรายจ่ายจะเกิดต้นงวด ทั้งนี้การตัดสินใจว่าค่าใช้จ่ายใดจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ต้องขึ้นอยู่กับรูปแบบการดำเนินชีวิตและพื้นฐานการดำเนินชีวิตของเราด้วย


* จดบันทึกรายรับรายจ่ายมีประโยชน์ตรงนี้เพราะเราจะมีข้อมูลในการคำนวนที่ถูกต้อง

อย่างไรก็ตามมีค่าใช้จ่ายหลายประเภท เช่น การท่องเที่ยว การพักผ่อนหย่อนใจอาจจะมีสัดส่วนที่สูงในช่วงแรกของการเกษียณ แต่จะเปลี่ยนแปลงลดลงในช่วงหลังๆ ส่วนค่ารักษาพยาบาลมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นโดยตลอด 

หมายเหตุ * หารอยรั่วจากการจดบันทึก http://pajareep.blogspot.com/2012/05/blog-post_13.html 

หมายเลข 3 นำหมายเลขที่ 1 (แหล่งของเงินเพื่อวัยเกษียณ) มาลบกับหมายเลข 2 (การคำนวนรายได้หรือรายจ่ายช่วงหลังเกษียณ) พูดง่ายๆคือว่า เงินเก็บที่เรามีอยู่เพียงพอกับการใช้จ่ายหลังเกษียณของเราหรือไม่ 


วิธีคำนวน
1. ค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตหลังเกษียณต่อปี คือ 1,280,042 บาท (PMT) (มาจากหมายเลข 2
2. สมมติให้ อายุเฉลี่ย 85 ปี ดังนั้น ช่วงอายุก่อนเสียชีวิต 30 ปี (N)
3. สมมติให้ อัตราผลตอบแทนคาดหวังจากการลงทุนหลังเกษียณหลังหักภา๊ษี 5%
4. สมมติให้ อัตราเงินเฟ้อ 3%
5. จากข้อ 3,4 คิดเป็นอัตราผลตอบแทนที่ปรับด้วยเงินเฟ้อ (I/Y) 
         5.1 นำเลข 1.05 / 1.03  = 1.0194
         5.2  (1-1.0194) x 100   = 1.9417% ใช้ตัวเลขนี้ในการคำนวณ
6. การกดเครื่องคิดเลขให้ปรับเป็น BGN Mode 
7. กดเครื่องคิดเลขดังนี้  1,280,042 PMT ; 1.9417 I/Y ; 30 N ; CPT PV = 29,460,699 บาท

หมายความว่า จากการคำนวนโดยวิธี Income Method ค่าใช้จ่ายที่เราต้องการใช้หลังเกษียณต่อปีคือ 1,280,042 บาท ถ้าอายุเฉลี่ยที่ 85 ปี เรามีเวลาใช้เงิน 30 ปี ต้องใช้เงินเพื่อใช้จ่ายทั้งหมด 29,460,699 บาท ดังนั้นถ้าเรามีแต่เงินฝาก 1 ล้านบาทเพียงอย่างเดียว(หมายเลข 1) จะเป็นมูลค่า ณ อายุ 55 เท่ากับ 2,093,777 บาท ดังนั้นคุณต้องออมเงินเพิ่มอีก 29,460,699 - 2,093,777 = 27,366,922 บาท 

จากตัวอย่างอาจจะดูโหดร้ายไปหน่อย ทั้งที่ในความจริงแล้วแหล่งของเงินในหมายเลข 1 เราก็ต้องมีเงินในส่วนอื่นอีก เช่น เงินประกันสังคม เงินประกันชีวิต กองทุนรวม กบข. หุ้นสามัญ เงินฝากประจำ RMF LTF ฯลฯ เราก็ต้องคำนวนทั้งหมดที่มีเป็นมูลค่าเงิน ณ ปีที่เกษียณ(เช่น อายุ 55 ปี)  เพื่อมาดูว่าเงินที่จะใช้เป็นรายจ่ายในอนาคตเพียงพอหรือไม่ ก็ต้องมาคำนวณว่าก่อนเสียชีวิตเราต้องใช้เงินเท่าไหร่ตามหมายเลข 2 จากนั้นก็นำมาลบกัน 

==> ถ้าหมายเลข  1 มากกว่าหมายเลข 2 แสดงว่าแหล่งของเงินออมนั้นมีมากกว่ารายจ่ายที่เราจะใช้หลังเกษียณ เรามีเงินเหลือและสามารถมีมรดกเหลือไว้ให้ลูกหลานด้วย
==> ถ้าหมายเลข  1 น้อยกว่าหมายเลข 2 แสดงว่าแหล่งของเงินออมนั้นมีน้อยกว่ารายจ่ายที่เราจะใช้หลังเกษียณ ดังนั้นต้องออมเงินเพิ่ม ควบคุมรายจ่ายให้ได้ ไม่อย่างนั้นตอนเกษียณไม่สนุกแน่ๆ

ในบางครั้งเราคิดว่าเงินเก็บที่มีและเงินสวัสดิการที่ได้คงใช้พอหลังเกษียณ มันไม่แน่เสมอไป ใครจะไปรู้ว่าพ่อแม่เกษียณต้องมาช่วยลูกผ่อนรถยนต์ มีรายจ่ายที่คาดไม่ถึงอีกมากมาย บางคนนำเงินจากอนาคตมาใช้ เช่น การใช้บัตรเครดิต ตอนนี้อายุ 30 ปีแต่อาจจะนำเงินตอนอายุ 33 ปีมาใช้แล้วก็ได้ การสร้างหนี้ก็มีประโยชน์ถ้าเงินที่สร้างหนี้นั้นเอาไปลงทุนในผลงอกเงย แต่ถ้าสร้างหนี้เพื่อมาบำเรอความสุขเพียงชั่วคราว เพื่อประกาศให้คนอื่นรู้ว่าตนเองร่ำรวยทั้งที่ความจริงแล้วกลวง มันน่าหัวเราะมากกว่า เมื่อหลายปีก่อนมีโจรขึ้นมาขโมยทรัพย์สินของเพื่อนบ้าน เจ้าของบ้านกลับมาถึงก็ตรงเข้าไปรื้อกองผ้าขี้ริ้วใหญ่เลยเพื่อหาอะไรบางอย่าง หลังจากตรวจสอบแล้วพบว่าทรัพย์สินมีค่าหายไปรวมกันแล้วไม่กี่หมื่นบาทส่วนทองคำที่ถูกห่อด้วยผ้าขี้ริ้วหลายสิบบาทโจรไม่ได้ขโมยไป พึ่งเข้าใจคำว่าผ้าขี้ริ้วห่อทองก็วันนี้เอง   

                                 "ความสุขหลังเกษียณมีได้ง่ายๆแค่วางแผนตั้งแต่ตอนนี้" 


บทความน่าสนใจ

สร้างเงินล้านได้จากเงินสะสม 6,209 บาท
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/09/6209.html

ลูกจะมีวินัยทางการเงินหรือไม่นั้นต้องเริ่มจากพ่อกับแม่
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/08/blog-post_4.html

บัตรเครดิตที่เราต้องรู้
 ==> http://pajareep.blogspot.com/2013/07/blog-post.html

รู้อะไรไม่สู้ "รู้งี้" กับการวางแผนเกษียณ
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/06/blog-post.html

ต้นทุนชีวิต - มีมูลค่าเท่าไหร่
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/05/blog-post.html

เงินฝากเขย่าโลก
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/04/blog-post_20.html

แหล่งเก็บเงินที่ปลอดภัยนั้นไม่มีจริง!!
==> http://pajareep.blogspot.com/2013_04_01_archive.html

แบ่งเงินออมมาเก็บดอลล่าร์กันดีกว่า
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/03/blog-post_25.html

ทิศทางการตลาดเพื่อดูแนวโน้มหุ้นแห่งอนาคต

บทเรียนในความมืดกับการวางแผนการเงิน
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/02/blog-post_24.html

ร่ำรวยจากสิ่งที่มี

การเงินส่วนบุคคล ตอน การวิเคราะห์การออมและการลงทุน
==> http://pajareep.blogspot.com/2013/02/blog-post.html





==============================================================

เกษียณก่อน.. ลำบากก่อน..


ผมได้อ่านบทความเรื่อง “The Benefits of Retiring later” ซึ่งแปลตามความได้ว่า “ประโยชน์ของ..การเกษียณช้า” ซึ่งผมคิดว่ามีประโยชน์มาก

จึงอยากนำมาให้คุณผู้อ่านได้อ่าน อย่างไรก็ตาม เนื้อหาดังกล่าวค่อนข้างจะไม่เข้ากับสังคมไทยเอาเสียเลย ดังนั้น ผมจึงขอยกกรณีศึกษาของคนที่ผมรู้จักซัก 2 เรื่อง โดยจะใช้นามสมมุติ ดังนี้ครับ 
เรื่องที่หนึ่ง “ศักดิ์ชัย” ตั้งบริษัทของตนเองขึ้นมา และทำงานในบริษัทตนมานานถึง 30 ปี เขาเกษียณอายุเมื่ออายุได้ 60 ปี พร้อมกับเงินเก็บ 7.5 ล้านบาท ศักดิ์ชัยใช้จ่ายเงินเพื่อตนเองและครอบครัวปีละ 750,000 บาท แต่เขาก็สามารถทำให้เงินของเขางอกเงยขึ้นได้บ้าง ภายหลังพบว่า ศักดิ์ชัยได้ถอนเงินออกมาทุกปี พอครบ 14 ปี เงินของศักดิ์ชัย 7.5 ล้านบาท ก็..หมดลง ทุกวันนี้ชีวิตของศักดิ์ชัยต้องพึ่งโครงการ “30 บาท รักษาทุกโรค” เงินเก็บส่วนตัวไม่มีเหลือเลย จึงต้องขอเงินจากลูกหลานและญาติมิตร ลูกหลานญาติมิตรเริ่มทำตัวออกห่างมากขึ้นเรื่อยๆ มีเพียงภรรยาที่ไม่มีเงินเหมือนกันเป็นเพื่อน แต่ชีวิตก็..ลำบาก..และเครียด
เรื่องที่สอง “อัจฉรา” เป็นอาจารย์และเป็นโสด แม้ว่าเธอได้เกษียณตอนอายุ 60 ปีไปแล้ว แต่เธอก็ยังคงทำงานด้านการศึกษาต่อไป อัจฉราทำงานจนถึงอายุ 75 ปี เธอจึงยอม..เกษียณอย่างแท้จริง และพบว่าในวันที่ตัวเธอเกษียณอายุ ตัวเองมีเงินเก็บ 4.5 ล้านบาท อัจฉราก็นำเงินไปลงทุนและฝากเงินเช่นเดียวกับศักดิ์ชัย เธอมักจะถอนเงินออกมาเพื่อใช้จ่ายส่วนตัวและสุขภาพปีละ 200,000 บาท ด้วยความประหยัด มัธยัสถ์ และอดออม ทุกวันนี้อัจฉราก็ยังคงใช้ชีวิตเรียบง่ายโดยไม่ได้โดดเดี่ยวเดียวดาย อัจฉรามีเพื่อนฝูงที่เป็นโสดจนเกษียณมากมาย อัจฉราเป็นคนชอบให้ของขวัญลูกหลาน อัจฉราเป็นคนชอบทำบุญ จึงไม่ต้องเป็นห่วงว่า ชีวิตของอัจฉราจะไม่มีคนไปมาหาสู่เธอเลย ชีวิตคนโสดจนเกษียณของ “อัจฉรา” จึงดูเหมือนว่า..จะมีความสุขมากกว่าชีวิตของ “ศักดิ์ชัย”
หลังจากอ่านชีวิตของทั้งสองคนไปแล้ว หากเราลองคิดดูว่า อะไรที่ทำให้ชีวิตของ “ศักดิ์ชัย” และ “อัจฉรา” แทบจะแตกต่างกันราวฟ้ากับดิน ผมเองมีข้อสังเกต 2 ประการ ดังนี้ครับ 
หนึ่ง ปัจจุบัน..คนมีอายุมากขึ้น 
ด้วยพัฒนาการทางด้านอาหารและเวชภัณฑ์ ก็ทำให้ผู้คนมีอายุมากขึ้นโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ และทำให้โลกใบนี้มีคนแก่มากขึ้น..และมากขึ้น ตัวเลขจาก Wikipedia พบว่า เมื่อประมาณหนึ่งร้อยปีก่อน อายุเฉลี่ยของคนทั่วโลกอยู่ที่ 31 ปี แต่ทุกวันนี้อายุเฉลี่ยของคนทั่วโลกอยู่ที่ 67.2 ปี นั่นเป็นสัญญาณเตือนว่า “คนแก่” กำลังจะ..ล้นโลก ในขณะที่ “คนหนุ่มสาว” ในวัยทำงานกำลังจะ..ลดลง ภาระอันหนักหน่วงจึงไปตกอยู่กับคนหนุ่มสาวในปัจจุบัน ที่คงจะต้องจ่ายภาษีเพิ่มขึ้นเพื่อนำไปเป็นสวัสดิการสังคมให้กับคนแก่ อย่างไรก็ตาม สวัสดิการสังคมดังกล่าวคงไม่พอเพียงกับจำนวนประชากรของ “คนแก่” ที่เพิ่มขึ้นทุกวัน 
ปัจจุบันนี้ จึงพบว่า “คนแก่” มักจะต้องกระเสือกกระสนดิ้นรนหาเลี้ยงชีพให้แก่ตนเองเท่าที่จะทำได้ ก่อนที่จะถูกสังคมและลูกหลานค่อยๆ...ทิ้งไป
สอง วางแผนการเงิน 
จากการประมาณการเบื้องต้นพบว่า หากศักดิ์ชัยทำงานต่ออีก 5 ปี ไม่คิดที่จะ “เกษียณก่อน.. ลำบากก่อน..” แล้ว คุณภาพชีวิตของศักดิ์ชัยก็จะดีขึ้น เพราะเงินเหลือเก็บก็จะมีมากขึ้น เนื่องจากศักดิ์ชัยไม่ต้องผ่อนบ้าน ..ไม่ต้องผ่อนรถ ..และไม่ต้องผ่อน “ค่าลูก” ซึ่งคาดว่าเงินเหลือเก็บก็จะเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาที่ทำงานเพิ่ม หากศักดิ์ชัยทำงานเพิ่มขึ้น 5 ปี จึงมีเงินเหลือเก็บเพิ่มขึ้นอีก 5 ปี ดังนั้น ศักดิ์ชัยจะมีเงินเหลือเก็บ 14+5+5 = 24 ปี ศักดิ์ชัยก็อาจจะใช้เงินหมดเมื่ออายุ 60+24 = 84 ปี ศักดิ์ชัยจึงมีแนวโน้มที่จะใช้ชีวิตที่ดีขึ้น แต่หากศักดิ์ชัยเลือกเกษียณอายุเพิ่มขึ้นอีก จะเป็นดังนี้ เกษียณที่ 70 ปี..จะมีเงินใช้ = 60+14+10+10 = 94 ปี และเกษียณที่ 75 ปี..จะมีเงินใช้ = 60+14+15+15 = 104 ปี ตามลำดับ คุณภาพชีวิตของ “ศักดิ์ชัย” ก็จะยิ่งดีขึ้นไหมครับ? 
ผมเคยเขียนบทความที่ชื่อ “8 วิธีที่จะทำให้รวยก่อนเกษียณ” (อ่านได้ที่ http://www.doctorwe.com/variety/20120805/2976) โดยพูดถึงวิธีที่ว่า “ชีวิตนี้..ไม่มีวันเกษียณ” ไว้ว่า ในชีวิตของคนเรานั้น เราต้องพยายามที่จะ “กำหนดชีวิต” ของเราเองให้ได้ นายกรัฐมนตรีคนแรกของสิงคโปร์ และรัฐบุรุษแห่งสิงคโปร์ นายลี กวนยู ก้าวลงจากตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีเมื่อปี 2544 ในเวลานั้น เขามีอายุถึง 87 ปี ซึ่งแสดงให้เห็นว่า เขาสามารถ “กำหนดเวลาเกษียณ” ของเราเองได้ 
คุณหมอประสพ รัตนากร ผู้ริเริ่มงานด้านสุขภาพผู้สูงอายุและชมรมผู้สูงอายุทั่วประเทศ และก่อตั้งสมาคมวิชาชีพทางสุขภาพจิต ประสาทวิทยา จิตเวชศาสตร์ และสังคมวิทยา คุณหมอจัดรายการ “ใจเขาใจเรา” ทางวิทยุและโทรทัศน์มากว่า 50 ปี คุณหมอทำงานต่อเนื่องเป็นเวลาถึง 92 ปี และเพิ่งจะจากพวกเราไปในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ทั้งหมดก็แสดงให้เห็นว่า คุณหมอก็สามารถ “กำหนดวันเกษียณของตัวเอง” ได้
ทำให้นึกถึง เซอร์ พอล แมคคาร์ทนี (Sir Paul McCartney) หนึ่งในนักดนตรีวงเดอะบีทเทิลส์ที่เคยสร้างผลงานไว้อย่างโด่งดังไปทั่วโลก เขากล่าวถึง..ชีวิตเกษียณ ไว้ว่า “Why would I retire? Sit at home and watch TV? No thanks. I'd rather be out playing.” แปลตามความได้ว่า “ทำไมผมต้องเกษียณด้วยล่ะ? ให้นั่งอยู่บ้านและดูทีวีไปเรื่อยๆ..ผมไม่เอาหรอก ผมเลือกที่จะออกไปเล่นดนตรีเสียดีกว่า” แล้วคุณผู้อ่านล่ะครับ..จะรีบเกษียณตัวเองไปทำไม?